ประโยชน์ของไคโตซานต่อพืช ไคติน- ไคโตซาน
ธ รวงข้าวตรา กุ้งหลวงไคโตซาน |
จูไข่มุก ตั้งจิตวัฒนากร |
สมัครสมาชิกโทร. 08 9772 3592 |
ลาวัลย์ จีระพงษ์
กลุ่มงานชีววิธี ส่วนบริหารศัตรูพืช
สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรเกษตร
agriqua31@doae.go.th
agriqua31@doae.go.th
ไคโตซาน เป็นไบโอโพลิเมอร์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญในรูปของ
D – glucosamine พบได้ในธรรมชาติ โดยเป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพ ( Biometerials ) ย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ ( non – phytotoxic ) ต่อพืช นอกจากนี้ยังส่งเสริมการเพิ่มปริมาณของสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์
ไคโตซานกับการเกษตรด้านการควบคุมศัตรูพืช
1. ยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื่อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดยไคโตซานจะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื่อโรคพืชแล้ว (รักษาโรคพืช) และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดยไคโตซานมีคุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น (elicitor) ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิด พืชจึงลดโอกาสที่จะถูกคุกคามโดยเชื่อสาเหตุโรคพืชได้
2. ทำให้เกิดโอกาสการสร้างความต้านทานของพืชต่อแมลงศัตรูพืช
ไคโตซานจะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด – ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตุว่าต้นพืชที่ได้รับไคโตซานจะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ
3. ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
ไคโตซานสามารถส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อ Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช เช่น เชื้อ ( Furarium ) Phythophthora spp. ฯลฯ
รายชื่อศัตรูพืชที่มีการทดสอบแล้วว่าไคโตซานมีศักภาพในการควบคุม
1. การกระตุ้นให้พืชมีความต้านทานแมลง
ศัตรูพืช คือ หนอนใยผัก หนอนคืบและอื่น ๆ
การใช้ การพ่นทางใบ ลำต้น (ขึ้นกับส่วนที่ศัตรูพืชอาศัยอยู่)
อัตราการใช้ 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
2. การยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อสาเหตุโรคพืช
- ไวรัสโรคพืช
- แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด
- เชื้อรา เช่น เชื้อไฟทอปธอร่า พิเทียม ฟิวซาเรียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer
- แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติด ราขาว รากเน่า – โคนเน่า ใบจุด โรคใบสีส้ม ใบลาย
ประโยชน์ของไคโตซานด้านการเกษตร
คุณสมบัติ | วิธีการใช้ | อัตรา |
1. แมลง : กระตุ้นให้พืชสร้างความภูมิคุ้มกัน โดยผลิตพืช เอนไซม์และสารเคมีป้องกันตนเอง เช่น สร้างลิกนิน แทนนิน และกระตุ้นให้สร้างไคติเนส ซึ่งจะย่อยผนังเปลือกหุ้มตัวแมลง ศัตรูพืช เช่น หนอนใย หนอนคืบ | พ่นทางใบ | 10 – 20 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร |
2. โรค : ยับยั้ง การเจริญเติบโตเชื้อสาเหตุของโรคพืชรักษาและสร้างภูมิต้านทานโรค - ไวรัสโรคพืช - แบคทีเรีย เช่น แคงเคอร์ ใบจุด - เชื้อรา เช่น ไฟทอปธอร่า พิเทียม Botrytis cineres Rhizopus stolonifer แอนแทรคโนส เมลาโนส ราน้ำค้าง ใบติดราขาว รากเน่า -โคนเน่า โรคใบจุด โรคใบสีส้มข้าว ใบลาย | พ่นทางใบ | 10 – 50 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร |
3. ใช้เคลือบเมล็ดพันธุ์ ลดความเสียหายจากการถูกทำลายโดยเชื้อรา และแมลง | ชุบเมล็ดพันธุ์นาน 6 ชั่วโมง | 10 ซีซี / น้ำ 1 ลิตร |
4. ใช้ควบคุมไส้เดือนฝอย (รวมทั้งเชื้อรา เช่น Furarium spp. ) (ในฝ้าย พืชผัก กล้วยไม้ ผลไม้ ฯลฯ ) * วิธีการนี้ยังใช้ต้นทุนสูงไม่คุ้มการลงทุน | ใช้เป็นรูปผง ใส่ลงดินแล้วไถกลบลึก 6-8 นิ้ว 2-4 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช | 1 กรัม / ตารางวา ( 1 ตัน / Acre ) ( 3% ปริมาตร / ปริมาตร) |
5. ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น Actiomycetes sp. Trichoderma spp. ในดิน ลดจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรค เช่น Furarium sp. Phythozhthora spp. | ||
6. เพิ่มความเจริญเติบโตในพืชผัก ได้แก่ คะน้า หอม หน่อไม้ฝรั่ง ผักต่าง ๆ ( ผลดีกว่าไม่พ่น 20% และน้ำหนักมากกว่า 20-40% ) | ฉีดพ่นทุก ๆ 7วัน ( 3-4 ครั้ง ) | 10-15 ซีซี |
เอกสารอ้างอิง
1. ภาวดี เมธะดานนท์, 2544. ความรู้เกี่ยวกับไคติน – ไคโตซาน. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะวัสดุแห่งชาติ. 10 หน้า.
2. รัฐ พิชญางภรู, 2543. คุณสมบัติและกลไกการทำงานของสารไคติน – ไคโตซานที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ทางการเกษตร. ภาควิชาชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 4 หน้า.
3. สุวลี จันทร์กระจ่าง, 2543. การใช้ไคติน – ไคโตซานในประเทศไทยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย. ปทุมธานี. 5 หน้า.
CHITON and CHITOSAN ไคติน ไคโตซาน |
CHITON and CHITOSAN were happened together with the lives in this world. Both are co-polymers
in mixed Carbohydrates, included the derivative of Nitrogen-Glucose combination cat-ion molecules.
CHITIN is the nature organic compound, insoluble in water and general organic solvents. CHITOSAN
can solves in various organic acids, can be able to form gel,granule,fiber and surface coating.
They protect and make strength to lives' cell-wall for their functions. We can found them in
hard-shelled of shellfish which have many profits for plants,animals,and humanity like these ;
1.Activate reaction for cell's working
2.Enhance reaction for immunity
3.Disinfect bacteria and mold
4.Molecular separation reaction
In addition, they can also apply in various products as the following
1) Cosmetics; in shampoo, hair treatment, lotion,face powder, etc
2) Microbe defending products; the results of experimentation showed that The concentration of
CHITOSAN 0.02% was able to inhibit the E-Coli in food and the growth of plants destroyer similarly.
3) Dietic foods; CHITOSAN consumption can reduce the cholesterol content in blood. There are
manufacturing of cookies and ready-make noodles with CHITOSAN using for diet in
In
weight control.
4) CHITOSAN can sediment and treat waste water by precipitation because of their cat-ion
characteristic molecules.
5) Using CHITOSAN in bandage of burn and scale
6) Utilizing in agriculture as soil improvement grain coating, root activation, strength increasing,
bacteria virus and mold repression and pesticides.
ไคติน-ไคโตซาน
เมื่อหลายปีก่อนคงเคยได้ยินและรู้จัก "ไคติน-ไคโตซาน" ในรูปของอาหารเสริมลดความอ้วนโดยเมื่อ รับประทานก่อนมื้ออาหาร
จะสามารถช่วยดักจับไขมันจากอาหารที่รับประทาน เพื่อไม่ให้สะสมในร่างกาย นอกจากนั้นยังสามารถช่วยดักจับโลหะหนักอีกด้วย
เรามารู้จัก "ไคติน" กันเถอะ
ไคติน เป็นพอลิเมอร์ชีวภาพที่มีมากเป็นอันดับสองของโลก ซึ่งพบได้จากธรรมชาติ คือจะพบในรูปของสารประกอบเชิงซ้อน
ไคติน-โปรตีน (ในเปลือกของแมลง) ซึ่งนอกจากจะพบได้ในเปลือกกุ้งและปูแล้วนั้นยังมีมากในเปลือกหุ้มของแพลงก์ตอน ผนังเซลล์
ของสาหร่าย ยีสต์ และเห็ดรา เปลือกแมลง แกนของปลาหมึก แมงกระพรุน หรือดาวทะเล
ข้อมูลทั่วไป: ไคโตซาน เป็นสารอนุพันธ์ที่ไม่ละลายน้ำของไคติน ซึ่งสามารถสกัดได้จากเปลือกของกุ้งขนาดกลางและเล็ก กุ้งกร้ามกราม หรือปู (1, 2, 3, 6, 7, 10, 13, 20, 24) มีการวิจัยทางคลินิกวิทยามากว่า 17 ปี ีถึงการใช้ไคโตซานเป็นสารลดน้ำหนักธรรมชาติโดยใช้
เป็นใยอาหาร (ไฟเบอร์) เพื่อทำให้อืดอิ่ม และใช้ในการทำความสะอาดสำไส้ เรื่อยจนมาถึงปัจจุบัน (21) ไคโตซานมีคุณสมบัติในสมบัติ
ในการดูดซับน้ำมัน คราบไขมันและสารพิษบางชนิด เพื่อทำให้กำจัดได้ง่ายขึ้น ไคโตซานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง รวมทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร การทดลองของฮาน (Han L. K.) และเพื่อนร่วมงานของเขา(1999) ที่โรงเรียนการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นชี้ให้เห็นว่า ไคโตซานป้องกันการเพิ่มของน้ำหนักตัว ป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง และการมีไขมัน
สะสมในตับมากอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง มีการทดลองที่ทำการเปรียบเทียบการขับไขมันออกจากร่างกาย และคุณสมบัติ
ในการลดน้ำหนักของใยอาหารจากพืชผักหลากหลายชนิดกับไคโตซาน ผลปรากฎว่าไคโตซานให้ผลดีเหนือกว่าใยอาหารอื่นทั้งหมด (19) ไม่เพียงใช้ในอุตสาหกกรมอาหารไคโตซานยังใช้เป็นไหมเย็บบาดแผลและเส้นเลือดที่ขาด นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้จัดให้ไคโตซานเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหารเพื่อหน้าที่ หรือที่รู้จักกันว่า ฟังก์ชันนอล ฟูด (functional food) (6)